บทที่2

บทที่ 2 ระบบคอมพิวเตอร์

บทที่ 2 ระบบคอมพิวเตอร์
(Computer System)

     Computer => อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการกับข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษร โดยปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของชุดคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เอง เพื่อทำการคำนวณและแสดงผลออกทางอุปกรณ์แสดงผล โดยที่ผลลัพธ์เหล่านี้จัดว่าเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลและเรียบเรียงแล้วจะเรียกว่า “สารสนเทศ”

     ประเภทของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ
          1.แบ่งตามลักษณะของข้อมูล ได้ 3 ประเภท คือ
-อนาล็อกคอมพิวเตอร์ => มีการทำงานโดยใช้หลักการวัด
-ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) => ใช้หลักในการคำนวณแบบลูกคิดหรือหลักการนับ
-ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) => เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้านมีประสิทธิภาพสูงและสามารถทำงานซับซ้อนได้

          2.แบ่งตามสมรรถนะ ขนาด และราคา ได้ 5 ประเภท คือ
-ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรุ่นแรกสร้างในปี ค.ศ.1960
-เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีความเร็วในการประมวลผลสูงรองลงมาจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
-มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าเมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์
-เวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ (Workstation Computer) เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่าย
-ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูก สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)”

          เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ดังนี้
๐ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีรูปแบบพื้นฐาน
๐ โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer) มีขนาดเล็กมีน้ำหนักประมาณ 2 – 4 กิโลกรัม
๐ คอมพิวเตอร์แทปเลท (Tablet Computer) มีลักษณะคล้ายโน๊ตบุ๊ค ต่างกันที่ป้อนข้อมูลได้ทางจอ
๐ คอมพิวเตอร์พกพา (Handheld Computer) มีขนาดเท่าฝามือ

          วงจรการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้ต้องประกอบด้วย 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ ส่วนรับข้อมูลและคำสั่ง , ส่วนประมวลผล , ส่วนที่ใช้แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล และส่วนในการจัดเก็บบันทึกข้อมูลหรือเรียกย่อๆ ว่า “IPOS Cycle (Input Process Output Storage Cycle)” ซึ่งเรียกรวมกันว่า “วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์

รูปแสดงวงจรการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์


          คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
               โดยรวมเรียกลักษณะเด่นทั้ง 4 รวมๆ กันว่า 4S Special ของเครื่องคอมพิวเตอร์
1.ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ด้านความจำ (Storage)
2.ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ด้านความเร็ว (Speed)
ความเร็วในการประมวลผลข้อมูลจะถูกกำหนดโดยหน่วยประมวลผล (Processor) ใน CPU โดยมีความเร็วมากกว่าล้านคำสั่งต่อวินาที อย่างไรก็ตามหน่วยนับที่ใช้กันในระบบคอมพิวเตอร์ได้กำหนดไว้ดังนี้

หน่วยในพันของวินาที          =    1/103      เรียกว่า Millisecond
หน่วยในล้านของวินาที        =     1/106      เรียกว่า Microsecond
หน่วยในพันล้านของวินาที   =    1/109      เรียกว่า Nanosecond
หน่วยในล้านล้านของวินาที  =    1/1012    เรียกว่า Picosecond

3. ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ด้านการปฏิบัติงานอัตโนมัติ (Self)
4. ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ด้านความเชื่อถือ (Sure)

          ข้อควรจำของคอมพิวเตอร์
1.การวางระบบคอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลานานมาก การที่หน่วยงานใดตัดสินใจนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต้องวางแผนระบบงานเสียก่อน ว่าจะนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานในด้านใด แล้วยังจะต้องมีการเขียนโปรแกรมคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้
2.การรบกวนระบบงานปกติ เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามาในหน่วยงานที่ไม่เคยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มาก่อน แน่นอนว่า ต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบงานเดิม
3.การทำงานขึ้นอยู่กับมนุษย์ คอมพิวเตอร์เป็นได้แค่เครื่องมือช่วยในการทำงาน ทั้งนี้เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง และทำงานได้เมื่อได้รับคำสั่งจากมนุษย์เท่านั้น ไม่ว่างานที่สั่งให้ทำจะถูกหรือผิด เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่รู้จักคิดหรือปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น